เที่ยวชม-ทำบุญ วัดประจำรัชกาล 1-9 เพื่อความเป็นกุศลแต่ตัวเอง

เที่ยวชม-ทำบุญ วัดประจำรัชกาล  1-9  เพื่อความเป็นกุศลแต่ตัวเอง

เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะยังไม่เคยรู้กันแน่ๆ เลยว่า กษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีมีวัดประจำรัชกาลด้วย ซึ่งวัดประจำแต่ละรัชกาลก็ล้วนแต่เป็นวัดที่ทุกคนคุ้นเคยและต้องเคยไปสักการะกันมาอย่างแน่นอน แต่ก็มักจะมีหลายๆ คนที่เข้าใจผิดว่า "วัดพระเแก้ว" เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่นะ เพราะวัดพระแก้วเป็นวัดประจำพระบรมมหาราชวังเท่านั้น ซึ่งวัดประจำรัชกาลนั้น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นวัดที่กษัตริย์ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นส่วนมาก จะมีวัดไหนบ้าง? มาอ่านกันได้เลยค่ะ


วัดประจำรัชกาลที่ 1-9


เที่ยวชม-ทำบุญ วัดประจำรัชกาล  1-9  เพื่อความเป็นกุศลแต่ตัวเอง

วัดประจำรัชกาลที่ 1 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือที่ทุกคนคุ้นกันในชื่อ "วัดโพธิ์" (ชื่อเดิมคือ วัดโพธาราม) วัดโบราณเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศอีกด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551 และในวันที่ 16 มิถุนายน 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลกในทะเบียนนานาชาติ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่า เป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำนวนประมาณ 99 องค์ พระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


เที่ยวชม-ทำบุญ วัดประจำรัชกาล  1-9  เพื่อความเป็นกุศลแต่ตัวเอง

วัดประจำรัชกาลที่ 2 วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า "วัดแจ้ง" หรือจะเรียกสั้นๆ ว่า "วัดอรุณ" เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าแต่เดิมเรียกว่า "วัดมะกอก" และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่า "วัดแจ้ง"

ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง ต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอรุณราชธาราม" และทรงมีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดอรุณราชวราราม"


เที่ยวชม-ทำบุญ วัดประจำรัชกาล  1-9  เพื่อความเป็นกุศลแต่ตัวเอง

วัดประจำรัชกาลที่ 3 วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่เดิมมีชื่อว่า "วัดจอมทอง" เป็นวัดที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านพระเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดราชโอรส" ซึ่งหมายถึง พระราชโอรส คือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์


เที่ยวชม-ทำบุญ วัดประจำรัชกาล  1-9  เพื่อความเป็นกุศลแต่ตัวเอง

วัดประจำรัชกาลที่ 4 วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐาน จึงทรงสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ครบตามโบราณราชประเพณี และเพื่อพระอุทิศถวายแก่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายเพื่อที่พระองค์เองและเจ้านาย ข้าราชการ ที่จะไปทำบุญที่วัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายใกล้พระบรมมหาราชวังได้สะดวก วัดราชประดิษฐฯ จึงเป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายวัดแรกที่สร้างขึ้นเพื่อพระสงฆ์ในนิกายนี้ เพราะวัดอื่นๆ ของฝ่ายธรรมยุตเป็นวัดที่แปลงมาจากวัดของมหานิกาย

วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามสร้างขึ้นในที่ดินที่เคยเป็นสวนกาแฟของหลวง โดยก่อสร้างใน พ.ศ. 2407 เดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า "วัดราชประดิษฐสถิตธรรมยุติการาม" เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้เปลี่ยนเป็น "วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม" เพื่อให้เหมาะสมกับเป็นที่ประดิษฐานหลักศิลา โดยมีทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย เป็นบทพระราชนิพนธ์รวม 10 หลัก


เที่ยวชม-ทำบุญ วัดประจำรัชกาล  1-9  เพื่อความเป็นกุศลแต่ตัวเอง

วัดประจำรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 7 วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 2412 โดยมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ และเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) เป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง และมีมหาสีมาอันเป็นเสาศิลาจำหลักยอดเป็นรูปเสมาธรรมจักร 8 เสา ตั้งเป็นสีมาที่กำแพง 8 ทิศ "ราชบพิธ" หมายถึง พระอารามที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง บพิธ คำนี้มาจากภาษาบาลีคือ ปวิธะ ที่แปลว่าสร้าง ส่วน "สถิตมหาสีมาราม" หมายถึง พระอารามซึ่งมีสีมากว้างใหญ่ เป็นมหาสีมาล้อมรอบอาณาเขตของวัด (วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม นับเป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาล)


เที่ยวชม-ทำบุญ วัดประจำรัชกาล  1-9  เพื่อความเป็นกุศลแต่ตัวเอง

วัดประจำรัชกาลที่ 8 วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร

วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า "วัดมหาสุทธาวาส" โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า "วัดพระโต" "วัดพระใหญ่" หรือ "วัดเสาชิงช้า" บ้าง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ การก่อสร้างวัด มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า "วัดสุทัศนเทพวราราม" ปรากฏในจดหมายเหตุว่า วัดสุทัศนเทพธารามและในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า "พระศรีศากยมุนี" "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" และ "พระพุทธเสรฏฐมุนี"

ภายในวัดสุทัศนเทพวรารามเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าพุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีเมื่อ พ.ศ. 2493 และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรในวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี


เที่ยวชม-ทำบุญ วัดประจำรัชกาล  1-9  เพื่อความเป็นกุศลแต่ตัวเอง

วัดประจำรัชกาลที่ 9 วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก

วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก เป็นวัดที่สร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ในปี พ.ศ. 2538 ตั้งอยู่เลขที่ 999 ซอยพระราม 9 ซอย 19 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคมสีมา และได้รับการยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีเป็นการพิเศษในปี พ.ศ. 2542


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ทรงตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ปัญหาน้ำเน่าเสีย ที่เกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศชาติ จึงมีพระราชดำริให้ทดลองแก้ไขปัญหาน้ำเสียด้วยวิธีเติมอากาศ ณ บริเวณบึงพระราม 9 ในลักษณะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็กและทำการทดสอบการบำบัดน้ำเน่าเสียที่ไหลมาตามคลองลาดพร้าว บางส่วนให้มีคุณภาพดีขึ้น โดยใช้วิธีเติมอากาศลงไปในน้ำและปล่อยให้น้ำตกตะกอนแล้วปรับสภาพก่อนระบายออกสู่ลำคลองตามเดิม รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพน้ำซึ่งเป็นการนำน้ำสะอาดจากแม่น้ำเจ้าพระยามาชะล้างทำความสะอาดคลองและระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยอาศัยจังหวะน้ำขึ้น-น้ำลงตามธรรมชาติ อันเป็นการบรรเทาปัญหาได้ในระดับหนึ่ง

เมื่อการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย ตามโครงการบึงพระราม 9 ดำเนินการไปได้ระดับหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) จึงได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2531 ให้มีการดำเนินการปรับปรุงสภาพพื้นที่และชุมชนในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง พร้อมกันนั้นก็ให้มีการจัดตั้งวัดขึ้นในที่ดินที่อยู่ใกล้เคียงกัน ซึ่งนางสาวจวงจันทร์ สิงหเสนี ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน และได้รับการอนุญาตให้สร้างวัดจากกรมการศาสนา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ได้พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า "วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก"

-------------

ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ swis.act.ac.th,lifestyle.campus-star.com


เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์